วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

การลี้ยงจิ้งหรีด

ทำที่เลี้ยงจิ้งหรีดในกล่องฟิวส์เจอร์บอร์ดแบบฉบับบ้านฟาร์มลุงบิว

ทำที่เลี้ยงจิ้งหรีดในกล่องฟิวส์เจอร์บอร์ดแบบฉบับบ้านฟาร์มลุงบิวพร้อมฝาปิด

การทำที่เลี้ยงกรณีใช้ฟิวส์เจอร์บอร์ด ซึ่งง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก (เริ่มต้นเลี้ยงลุงทุนเพียงแค่ 1000 บาทเท่านั้น)
อุปกรณ์และราคามีดังนี้
1.แผ่นฟิวส์เจอร์แผ่นใหญ่ 1 แผ่น 200 บาท (อายุการใช้งานนาน 1ปี หรือมากกว่าอยู่ที่การดูแลรักษา)
2.เทปแบบทึบ 1 ม้วน 40 บาทม้วน
3.แผงไข่ 30 แผง 4 บาท (สามารถใช้ได้หลายรุ่น)
4.ไม้บรรทัด หรือ ตลับเมตร เพื่อวัดระยะ คัตเตอร์ ดังที่กล่าวมาสามารถกำหนดหรือใช้อุปกรณ์อย่างอื่นแทนได้ตามแต่สถานที่
ขั้นตอนการทำดังนี้
1. วัดระยะจากขอบด้านยาว 80 เซนติเมตร แล้วตัดออกเพื่อทำฝาปิด
2. ติดเทปกาวทุกด้าน
3. วัดระยะจากขอบทุกด้าน 34 เซนติเมตร แล้วใช้คัตเตอร์กรีดแต่อย่าให้ทะลุ เพื่อทำการพับขึ้น
4. ทำการติดเทปกาวรอบด้านที่พับขึ้นให้แน่น

เป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเริ่มต้นเลี้ยงมีดังนี้
1.ไข่จิ้งหรีด 1 ถุง 300 บาท
2.แผ่นฟิวส์เจอร์บอร์ด 200 บาท
3.แผงไข่ 120 บาท
4.เทปกาว 40 บาท
5.อาหาร 1 ถุง 85 บาท (สุตรบ้านฟาร์มลุงบิว)
รวมแล้วเท่ากับ 1745 บาท ก็สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้แล้วครับ และยิ่งไปกว่านั้นสามารถขยายและเลี้ยงต่อไปได้เรื่อยๆ กรณีต้องการขยายครับ ขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชม

(หนทางยาวไกล และิกว้างใหญ่ ไม่เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ไฉนเลยจะก้าวผ่านไปถึงเส้นชัยและความยิ่งใหญ่ได้) แล้วพบกันที่ความสำเร็จ ด้วยความปรารถนาดีจาก บ้านฟาร์มลุงบิว

การเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจ

          งานวิชาการเกษตรดำเนินกิจกรรมการศึกษาทดสอบ
การเพาะเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดขอนขาว เห็ดยานางิ(เห็ดโคนญี่ปุ่น) เป็นต้น และขยายผลสู่เกษตรกร
ในพื้นที่ศูนย์ฯ โดยการนำเกษตรกรที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม
ฝึกปฏิบัติและกลับไปเพาะเห็ดในพื้นที่ของตนเอง
ระยะแรกเกษตรกรก่อตั้งกลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจ สมาชิก 4 ราย
ดำเนินการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อส่งจำหน่ายตลาดในท้องถิ่น
           ปัจจุบันกลุ่มเพาะเห็ดมีสมาชิก 10 ราย ทำการเพาะเห็ด ยานางิ
เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่า มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,000 บาท/เดือน
นอกจากนี้กลุ่มยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ด
แก่เกษตรกรผู้สนใจงานวิชาการเกษตรศูนย์ฯได้ดำเนินโครงการ
เพื่อสนับสนุนงานอาหารกลางวัน โดยการให้โรงเรียนในพื้นที่ศูนย์ฯ และนอกพื้นที่
ที่มีความสนใจ นำนักเรียนเข้าฝึกปฏิบัติทำก้อนเชื้อเห็ดและนำก้อนเห็ด
ที่ได้กลับไปเปิดดอกที่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวันและ
ยังเป็นการเพิ่มทักษะวิชาชีพแก่นักเรียน เห็ด เป็นอาหารที่รู้จักกันมานาน
ว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมได้ด้วยโปรตีนเทียบเท่ากับ
เนื้อสัตว์เป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวมังสวิรัติ และในปัจจุบันเห็ดชนิดต่างๆ
ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
3.การทำก้อน


เห็ดยานางิ
เห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ด
สูตรอาหาร PDA1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
4.น้ำสะอาด 1,000 cc
วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
- นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
  นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
- กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว
- บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
- นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
   นาน 25-30 นาที
- เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
- เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ
การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง
1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง                
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก                                                                                   
3.ผึ่งให้แห้ง                                                                                                  
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด    
6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA
         
                การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย
เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น
หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
และจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น
 
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
สูตรอาหารก้อนเชื้อ
-  ขี้เลื่อย 100 กก.                    - รำละเอียด 5 กก.                 - ดีเกลือ 0.2 กก             
- ปูนขาว 1 กก.                        - น้ำสะอาด 70-75%
ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ
ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
- หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่
  ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ
  ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
-  บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนัก
  ขนาด 8 ขีด - 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ
   แล้วรัดยางวงให้แน่น
-  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
-  นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน
   เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ
   ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ก่อนทุกครั้ง
-  นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป
การบ่มก้อนเชื้อ
       หลังจากใส่เชี้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อ
หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส
เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง
มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที
หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม
เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด
อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน
การปฏิบัติดูแลรักษา
        เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใย
ประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก
รักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือน
ไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง
นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง
การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ
       ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อน
ดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น
วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก.
ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ
พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่
ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง
อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก
โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน



ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

การเลี้ยงปลานิล

การเลี้ยงปลานิล 
           ในปัจจุบันการจำกัดพื้นที่ทำการประมง  ทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีบทบาทมากขึ้น การเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค  เป็นการเลี้ยงที่ยกระดับรายได้ของผู้เลี้ยง  ลักษณะของปลานิลโดยทั่วๆ ไป จะมีครีบหลังเพียง 1 ครีบ  มีเกร็ดตามแนวเส้นข้างตัว  ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล  ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง  อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทน  สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย  นับว่าเป็นปลาที่เหมาะจะนำมาเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี
          ปลานิลเป็นปลาที่มีเนื้อมากและรสชาติอร่อย  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง  และยังนำมาแปรรูปเป็นปลาเค็มตากแห้ง ปลากรอบ  ปลาร้า  เพื่อเก็บรักษาไว้ได้นาน  และเป็นอาชีพเสริมแก่ผู้เลี้ยงได้อีกด้วย
วิธีการเลี้ยงปลานิล
          เตรียมบ่อสำหรับใช้ในการเลี้ยงปลานิล  ควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อจะได้เลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่  และสำหรับเพาะลูกปลาไปด้วยกัน
          กำจัดวัชพืช  เช่น  ผักตบชวา  จอก  และหญ้าต่างๆ  เพื่อไม่ให้รกบ่อเลี้ยง จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ อีกทั้งจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยศัตรูของปลาจำพวกสัตว์กินเนื้อต่างๆ  เช่น  ปลาดุก ปลาช่อน  กบ  เขียด  งู  เป็นต้น
          ใส่ปุ๋ย  มูลวัว  มูลเป็ด  มูลไก่ที่ตากแห้ง  เพื่อเป็นอาหารจากธรรมชาติ ปุ๋ยจะทำให้เกิดตะไคร่น้ำ  และตัวไร ซึ่งนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก
          การปล่อยปลานิลลงเลี้ยง  จำนวนปลาที่ปล่อยครั้งแรกไม่ต้องมาก เพราะปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว  ควรใช้พ่อแม่ปลาเพียง  50  คู่ ถ้าเป็นลูกปลาปล่อยลงบ่อพอประมาณ  ภายในระยะเวลา 1 ปี  ปลานิลสามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้ง ทำให้ลูกปลาที่เกิดมาจะแน่นบ่ออย่างรวดเร็ว
          ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด  โดยเฉพาะได้อาหารจากธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น  ตะไคร่น้ำ  ไรน้ำ  ตัวอ่อนแมลง  และสัตว์เล็กๆ  ตลอดจนสาหร่าย  แหน แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้น  จึงมีการให้อาหารเสริม  อาทิ  รำ  ปลายข้าว  กากถั่ว  แหน  ปลาป่น  และไม่ควรให้อาหารเสริมมากไป  จะทำให้น้ำเน่าเสียได้


การจัดจำหน่าย : ปลานิลจะจับขายได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เมื่อมีขนาดโตเต็มที่จะมีน้ำหนักครึ่งกิโลกรัม ขนาดความยาวประมาณ 1 ฟุต ควรจับเป็นระยะ เพราะปลานิลจะเจริญ เติบโตไม่เท่ากัน และขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดด้วย ลูกค้าบางคนก็แบ่งซื้อ ขายเป็นกิโลกรัมที่บ่อเลี้ยง ก็ได้จะได้คุณภาพปลาที่สดกว่าด้วยหรือพ่อค้าคนกลางจะมารับซื้อถึงที่ เพื่อส่งขายตามตลาด

เคล็ดลับ
:
คนส่วนใหญ่ชอบเลี้ยงปลา  เพราะปลาเป็นอาหารโปรตีนสูง การเลี้ยงปลานิลลงทุนไม่มาก  ประหยัดค่าอาหาร  ดูแลง่าย และนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง


ข้าวเหนียวมูน

การเลี้ยงหมู

         ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและการสุขาภิบาล จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำรายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย
ปัจจัยที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรประสบความสำเร็จประกอบด้วย
สุกรพันธุ์ดี อาหารดี โรงเรือนดี การจัดการเลี้ยงดูดี การป้องกันโรคดี

เหตุผลในการเลี้ยงสุกร
สุกรสามารถเลี้ยงได้ในจำนวนน้อย เป็นฟาร์มเล็ก ๆ
ในการเลี้ยงสุกรต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อย
การเลี้ยงสุกรใช้แรงงานน้อย เลี้ยงง่าย
ใช้เศษอาหารและของเหลือต่าง ๆ เป็นอาหารสุกรได้
มูลสุกรใช้เป็นปุ๋ยอย่างดี และใช้กับบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงปลา
สุกรให้ลูกดก ขยายพันธุ์ได้เร็ว
การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน